ภาวะผู้นำทางวิชาการกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน

 

Abstract

บทคัดย่อ


 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ประชากร จำนวน 2,422 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 296 คน และครูผู้สอน จำนวน 1,918 คน กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน  645 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 215 คน และครูผู้สอน จำนวน 430 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 และด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.70 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ สถิติที่ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า


              1. ภาวะผู้นำทางวิชาการ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน


              2. ภาวะผู้นำทางวิชาการ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน  และครูผู้สอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ 


              3. ภาวะผู้นำทางวิชาการ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนในโรงเรียนขนาดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 


              4. ภาวะผู้นำทางวิชาการกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สัมพันธ์กันในเชิงบวกอยู่ในระดับ             ปานกลาง


              5. ภาวะผู้นำทางวิชาการ ด้านการสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ด้านการสร้างและพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากร และด้านการสร้างความมั่นใจในเกณฑ์การประเมินผล มีอำนาจพยากรณ์องค์การแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทั้ง 3 ด้าน มีค่าอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 21.90  และค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์  .18



อนัฏติยา ซาระวงศ์ (2561)  ภาวะผู้นำทางวิชาการกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน.วารสารบัณฑิตศึกษา ปีที่ 15 ฉบับที่ 17 ตุลาคม - ธันวาคม 2561.หน้า 153-163

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กลยุทธ์การพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดเลย

โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ - OBEC Library Automation System

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2